มองดู 7 ตัวละครหลัก หลัง 7ปี รัฐประหาร!!

เปิดอ่าน 3,087 views

samll

วันนี้ (19 ก.ย.56) ครบรอบ 7 ปี เหตุการณ์การรัฐประหาร ซึ่งเป็นการรัฐประหารที่สงบเรียบร้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย หากย้อนกลับไปในวันนั้น คนไทยทั้งประเทศต่างมีความคาดหวังว่าการเมืองไทยคงจะดีขึ้น แต่เมื่อกลับมาดูวันนี้การเมืองไทยก็ยังวนเวียนอยู่ในวังวนเดิมๆ ซ้ำร้ายขั้วอำนาจทางการเมืองก็กลับมาอยู่ในมือของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรอีกครั้ง จนมีหลายคนออกปากว่า “รัฐประหาร” ครั้งนี้เป็นรัฐประหารที่เสียของที่สุด

อย่างไรก็ตามในวันครบรอบ 7 ปี เรามาไล่เรียง 7 ตัวละครหลักที่อยู่ในเหตุการณ์  “รัฐประหาร 2549” กันดูว่าใครเป็นอย่างไรบ้าง

พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร นากยกรัฐมนตรีในขณะนั้น และเป็นเป้าหมายของการรัฐประหาร ปัจจุบันยังคงอาศัยอยู่ในต่างประเทศ แต่เนื่องจากรัฐบาลนี้มีน้องสาวเป็นนายกรัฐมนตรี จึงทำให้หลายคนอดคิดไม่ได้ว่าเขานี่เองที่เป็นนายกรัฐมนตรีตัวจริงที่ดูแล อยู่เบื้องหลัง ส่วนผลพวงจากการรัฐประหาร ทำให้พรรคไทยรักไทยของเขาต้องถูกยุบ ด้วยข้อหาโกงการเลือกตั้ง พร้อมทั้งตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลาห้าปี รวมถึงโดนอายัดทรัพย์สินรวมทั้งสิ้น 76,000 ล้านบาท โดยอ้างว่าเขาร่ำรวยผิดปกติ อย่างไรก็ตามแม้ตัวจะอยู่ต่างประเทศ ทักษิณก็ยังคงมีข่าวคราวส่งมาเมืองไทยสม่ำเสมอ ล่าสุดเพิ่งมีข่าวว่าจ้างนักร้องดัง ใบเตย อาร์สยาม ไปร้องเพลงให้ฟัง จนเป็นข่าวดังไปทั่วประเทศ

นายสนธิ ลิ้มทองกุล หนึ่ง ในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่นำการชุมนุมเพื่อขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ช่วงเวลานั้นสนธิ เป็นเหมือนศาสดาของคนต่อต้านทักษิณ เขาได้รับการยอมรับจากมวลชนอย่างสูงยิ่ง เคยถูกลอบยิงแต่รอดมาได้ปาฎิหารย์ ปัจจุบันยังคงทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการทางการเมืองที่สถานีโทรทัศน์เอ เอสทีวี

พลเอก ดร.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 หลังเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2550 เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก สรุยุทธ์ จุลานนท์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการปรองดองฯ แต่เป็นที่น่าแปลกใจเนื่องจากถูกมองว่าเป็นคนรัฐประหารเอง แล้วเหตุใดจึงเสนอกฎหมายให้ยกเลิกผลของการรัฐประหาร ซึ่ง พลเอก ดร.สนธิ บุญยรัตกลิน ให้เหตุผลว่า ต้องการคนกล้าที่จะมาทำงานให้ บ้านให้เมืองเพื่อเกิดความปรองดอง และอยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานพรรคมาตุภูมิ และเป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ

พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา หนึ่งในคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สมัยดำรงตำแหน่ง แม่ทัพ ภาคที่ 1 แม้จะเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10 (ตท.10) เหมือน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่กลับไม่เข้าร่วมหรือเห็นดีเห็นชอบด้วยกับการกระทำของกลุ่ม จึงถูกมองว่าเป็นฝ่ายต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ด้วย จนถูกเรียกว่าเป็น ตท.10/1 หลังจากนั้นได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารบก ต่อจากบิ๊กบัง และได้ส่งทอดอำนาจต่อไปยัง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่อยู่ในสาย ทหารเสือราชินีเหมือนกัน ปัจจุบันพลเอก อนุพงษ์เกษียณอายุราชการ และใช้ชีวิตอยู่เงียบ ไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใดๆ

พลเอก สพรั่ง กัลยาณมิตร หนึ่งในคณะปฏิรูปการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สมัยดำรงตำแหน่ง แม่ทัพภาคที่ 3 ซึ่งถือว่ามีบทบาทอย่างมาก เป็นผู้วางแผนเตรียมการและได้เคลื่อนกำลังพลมาเตรียมพร้อมในเขตปริมณฑลก่อน จะเข้าพบ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. เพื่อทำการรัฐประหารรัฐบาล โดยประโยคทองของ พลเอกสพรั่ง ในขณะนั้นคือ “ไม่สามารถที่จะทนต่อสภาพปัญหาของบ้านเมืองได้อีกต่อไป” หลังรัฐประหารเคยได้รับดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงกลาโหม และได้รับการพิจารณาให้เป็นประธานบอร์ดการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ รับคัดเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีหลังการรัฐประหาร จากการแต่งตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เป็นนายทหารคนสนิทของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ สมัยดำรงตำแหน่งนายกฯเคยถูกกล่าวหาว่าครอบครองพื้นที่ป่าสงวนเขายายเที่ยง ในจังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง องคมนตรี อย่างไรก็ตามในช่วงที่พลเอกสุรยุทธ์ ดำรงตำแหน่งนายกฯ ไม่ได้มีความเด็ดขาดกับการจัดการเครือข่ายของอดีตนายกฯ ทักษิณ จนในที่สุด เครือข่ายของอดีตนายกฯ ทักษิณก็กลับมาผงาดได้อีกครั้ง

คนไทยทั้งประเทศ ความคาดหวังของของประชาชนชาวไทยเมื่อ ครั้งเกิดรัฐประหาร ซึ่งมีบางส่วนออกมาชื่นชม ยอมรับ เนื่องจากเห็นว่าทหารช่วยจำกัดความวุ่นวายจากการชุมนุมของพันธมิตรเพื่อขับ ไล่ ทักษิณ แต่ก็มีบางส่วนไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจของทหารครั้งนี้ เนื่องจากมองว่าทำให้ประเทศชาติถดถอย ผลพวงที่ตามมาของจุดเริ่มต้นการรัฐประหาร เกิดการแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจน ทั้งผู้ที่สนับสนุน ทักษิณ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เกิดวลี ซึ่งเป็นอุดมการณ์ของ นปช. คือ สองมาตรฐาน เกิดการชุมนุมเผ้าบ้านเผาเมืองเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการ เกิดเหตุผู้เสียชีวิตเนื่องมาจากการชุมนุม เกิดความแตกแยกของ ส.ส. ชัดเจนยิ่งขึ้น ประชาชนเริ่มแบ่งแยกความคิดเห็นต่างกันอย่างชัดเจน

สรุปบทเรียนจากการรัฐประหารในครั้งนั้น ประเทศไทยก็ยังคงกลับมายืนที่จุดเดิม ยังคงอยู่ในวงเวียนการเมืองที่แก่งแย่งอำนาจ เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่ต้องพยายามเปลี่ยน “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” นี้ให้เป็นประชาธิปไตยเต็มรูปแบบให้ได้…

ร่วมแสดงความคิดเห็น
TAGS ที่เกี่ยวข้อง
ข่าว HOT ประจำวัน